ฮิวมัสล้านปี อินทรีย์แม่เมาะ

100 สัปดาห์ ที่แล้ว - คนดู 50
รูปภาพ ฮิวมัสล้านปี อินทรีย์แม่เมาะ

ลีโอนาร์ไดด์ (leonadite)


ลีโอนาร์ไดด์ (leonadite) :เป็นชั้นดินปนถ่านหินที่ถูกออกซิไดส์ตามธรรมชาติ มีลักษณะนุ่มไม่แข็งตัว ปกติพบอยู่ในปหล่งถ่านหินที่มีความลึกไม่มาก ประกอบด้วย "กรดฮิวมิค" และกรดอินทรีย์อื่นๆ ดินปนถ่านหินนี้เกิดจากการผุพังสลายตัวของซากพืลซากสัตว์ ด้วยกระบวนการทางเคมีและชีวภาพ

ลีโอนาร์ไดด์ (leonadite) มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบถึง 30-35 เปอร์เซ็นต์ ส่วนลิกไนต์มีเพียง 25-30 เปอร์เซ็นต์

ลีโอนาร์ไดด์ เกิดจากการผุพังตามธรรมชาติของถ่านหินชนิด ลิกไนต์ (Lignite) โดยพบว่าส่วนใหญ่เป็นสารประกอบของ

20160724_143138.jpg"ฮิวมัส" (Humus)

" กรดฟูลวิค" (Fulvic acid)

" กรดฮิวมิค" (Humic acid) และฮิวมีน (Humin)

หรือเรียกรวมว่า "สารฮิวมิค" (Humic Substances)


วัสดุเหล่านี้ใช้เป็นตัวให้กรดฮิวมิค มีการนำไปใช้ในการปรับปรุงดินเพื่อการเกษตรกรรม และการฟื้นฟูพื้นที่

ดินปนถ่านหินนี่้เกิดจากการผุพังสลายตัวของซากพืช ซากสัตว์ด้วยกระบวนการทางเคมี และชีวภาพ

สมบัติทางกายภาพ

กรดฮิวมิค จะรักษาโครงสร้างของดินให้อุ้มน้ำและระบายอากาศได้ดี ในอนุภาคของดินที่มีความเป็นดินเหนียวสูงจะมีประจุบวก และประจุลบอยู่อย่างหนาแน่น

ทำให้มีแรงยึดเหนี่ยวสูง จึงส่งผลให้ดินมีความละเอียดและความหนาแน่นมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อระบบรากของพืชที่จะดูดซึมแร่ธาตุอาหารและน้ำ


humus%2B-%2B1สมบัติทางเคมี

กรดฮิวมิค มีประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุอาหาร เพื่อที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่านั้นให้แก่พืช เพื่อที่จะได้นำสารอาหารเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในด้านการเจริญเติบโต การออกดอกออกผล

กล่าวคือ กรดฮิวมิค สามารถยึดประจุบวกของธาตุอาหารเสริมภายใต้สภาวะหนึ่งและจะปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่านั้นเมื่อสภาวะเปลี่ยนไป

ด้วยคุณสมบัตินี้ เมื่อ กรดฮิวมิค เคลื่่อนที่เข้าไปใกล้บริเวณรากของพืช ซึ่งระบบรากพืชจะมีประจุลบ พวกธาตุอาหารเสริมเหล่านั้นก็จะถูกปล่อยจากโมเลกุลของ กรดฮิวมิค เข้าไปสู่ระบบรากพืช

ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า กรดฮิวมิค มีความสำคัญอย่างมากในการเป็นสื่อกลางการลำเลียงธาตุอาหารจากดินไปสู่รากพืช

แต่เดิมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยเหมืองแม่เมาะ ได้นำเอามูลดินปนถ่านหินนำไปใช้ประโยชน์ในการฝังกลบพื้นที่ที่ต้องการ หรือไม่ก็ถูกทิ้งอย่างไร้ค่าเท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2551 ทางทีมผู้วิจัยของเหมือง พบว่าในตัวมูลดินปนถ่านหิน ที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ลีโอนาร์ไดด์ (leonadite) " มีองค์ประกอบที่เป็นประโยชน์ในทางเกษตรอย่างมาก

ที่มา เอกสารงานวิจัย : การเตรียมสารประกอบเกลือฮิวเมตจากดินปนถ่านหินจากเหมืองลิกไนต์แม่เมาะ จังหวัดลำปาง