[ใหม่] วัวธนู–ควายธนู ของขลังเฝ้าบ้าน เฝ้าเรือน เคลือบยางไม้สีเหลือง

578 สัปดาห์ ที่แล้ว - เชียงราย - คนดู 148
รายละเอียด

วัวธนู–ควายธนู ของขลังเฝ้าบ้าน เฝ้าเรือน เคลือบยางไม้สีเหลือง

หลวงปู่สุทน วัดด่านติง รุ่นสารพัดดี นครราชสีมา

พระเกจิชื่อดังแห่งนครราชสีมา ที่คนท้องถิ่นเข้าไปหาท่านมากมาย

 

- มวลสารดินมงคลเมืองเก่า 7 เมือง ดิน 7 สระ น้ำศักดิ์สิทธิ์ 7 สระ

วัวธนู–ควายธนู ของไทยเรา ถือว่าเป็นสุดยอดเครื่องรางชนิดหนึ่งตั้งแต่โบราณ คุณสมบัติของเครื่องรางชนิดนี้ คือการป้องกันคุ้มครองผู้บูชาให้พ้นภยันตรายจากภูติผีปิศาจต่อสู้กับอสูรกายตลอดจนคุณไสยต่างๆ แม้แต่ผู้ปองร้าย หรือโจรขโมยจะขึ้นบ้านก็ยังช่วยขับไล่ได้ด้วย นอกจากนี้แล้วยังป้องกันไฟไหม้ ฟ้าผ่า โชคลาภ เมตตา ค้าขาย ได้ดีมาก

 

วัวธนู-ควายธนู นอกจากจะปกป้องคุ้มครองดูแลรักษาเจ้าของบ้านแล้ว ยังบันดาลโชคลาภให้แก่เจ้าของบ้านที่บูชาอยู่เนืองนิจ เพราะ วัว-ควายธนู เป็นสัญลักษณ์ด้านโชคลาภ ความอุดมสมบูรณ์ ของชาวไทยมาช้านานแล้ว ในพิธีเสี่ยงทายในปีนี้ว่าจะเกิดความอุดมสมบูรณ์อย่างไร การค้าขาย ข้าวปลาอาหาร น้ำบริบูรณหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการเสี่ยงทายดังนั้น วัว ควายธนู ถ้าเจ้าของเลี้ยงบูชาเป็นอย่างดี ถวายน้ำ ถวายหญ้า ท่องบริกรรมพระคาถาอย่างสม่ำเสมอนอกจะบันดาลโชคลาภ ทำให้เกิดการอยู่ดีกินดี อุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาอาหาร ทรัพย์สินเงินทอง แก่ผู้เป็นเจ้าของ นักเดินทางสมัยก่อนและสมัยนี้ยังนิยมและยังถือว่าถ้าพก วัว ควายธนู เข้าป่า และต้องค้างงอ้างแรมที่ใดก็ตามแต่ จะปลอดภัยจากภยันตรายต่างๆทั้งสัตว์ป่า และภูติพราย จะไม่เข้าใกล้เลย

 

วิชาวัวธนูหรือวิชาควายธนูเป็นศาสตร์ทางโยคะ เรียกว่า วิชาวูดู แพร่หลายอยู่บางแคว้นของประเทศอินเดียและแคว้นคองโกแถบลุ่มแม่น้ำอเมซอนในกาฬทวีป ส่วนในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา (เขมร) มีการนิยมศึกษาเล่าเรียนกันอยู่บ้าง ซึ่งวิชาศาสตร์ชนิดนี้นับเป็นวิชาฝ่ายมาร แต่ทางจีนเรียกว่าม้อเก็งหรือม่อซุกใช้เสกปวยตอ ภาษาไทยแปลว่า มีดบินใช้ทำร้ายศัตรูในระยะไกลได้ เป็นดิรัจฉานวิชานั้น มิได้หมายความว่า วิชาของสัตว์เดียรฉานหรือวิชาของพวกเดียรถีย์ แต่หมายความว่าเป็นวิชาที่ขวางกั้นหนทางพระนิพพาน คือ ยังข้องและติดอยู่ แม้จะเป็นวิชาเสกหนัง ปังฟัน สะเดาะโซ่ตรวนขื่อคา ลุยฟุตอาพัดต่าง ๆ ก็จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันทั้งนั้น

ผู้เขียนขอนำเรื่องเก่าแก่เล่าต่อสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนานยิ่งโดยเฉพาะเรื่องราวของ วัวธนู – ควายธนูมาเล่ากันหลายแบบหลายอย่างเป็นที่พิสดาร และคงจะมีความสมบูรณ์ถูกต้องอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย หากจะมีสิ่งใดพลาดก็ขออภัยด้วย ณ ที่นี้ ซึ่งเรื่องนี้ผู้เฒ่าผู้แก่เล่ากันว่า มีพระธุดงค์รูปหนึ่งได้จาริกแสวงบุญไปตามสถานที่ทุรกันดาร วันหนึ่งได้สัญจร (เดินทาง) เข้าไปในราวป่าปราศจากบ้านผู้คน ขณะนั้นดวงตะวันคล้อยต่ำลงจะลาลับขอบฟ้าอยู่แล้ว ได้มีสิ่งหนึ่งปรากฏขึ้นอยู่เบื้องหน้าท่าน จึงมุ่งหน้าเดินตรงไปหาปรากฏเป็นภาพของพระอุโบสถกลางป่าแห่งหนึ่งแต่อยู่ไกลลิบ ซึ่งในระหว่างทางได้พบชายนุ่งขาวห่มขาวอยู่ผู้หนึ่งเดินสวนมา และขอติดตามท่านไปด้วยในลักษณะความเป็นห่วงเป็นใย และเมื่อเดินไปได้สักพัก เห็นต้นไผ่ป่าโน้มลำต้นขวางทาง ชายแก่ผู้ที่ได้ร่วมเดินทางมากับพระธุดงค์นั้นได้ใช้มือล้วงลงไปในย่ามหยิบมีดหมอออกมาเล่มหนึ่งแล้วลงมือตัดฉับเดียวต้นไผ่ก็ขาดออกจากกัน

 

จากนั้นก็รีบขมีขมันจัดการแยกชิ้นส่วนเป็นไม้ตอกได้กำใหญ่ พลางเดินไปสานไปเมื่อสานเสร็จก็บรรจุในย่ามที่ใช้สะพายอยู่ติดตัว พอไปถึงจุดหมายปลายทางเห็นเป็นพระอุโบสถที่ทรุดโทรมลักษณะคล้ายจะรกร้างมานานปี ส่วนด้านหลังพระอุโบสถเป็นศาลาหลังเล็กค่อนข้างผุหลังคาโหว่และเห็นพระภิกษุชุมนุมกันอยู่ด้วยกันสี่รูป โดยไม่ยอมให้การต้อนรับทักทายและไม่ยอมสบตากับผู้ใดด้วย แววตานั้นมีลักษณะไม่คล้ายกับผู้คนทั่ว ๆ ไป แต่มันคล้ายกับดวงตาของสัตว์ดุร้าย ชายแก่ในชุดขาวรีบพาพระธุดงค์เข้าไปในพระอุโบสถ และทำการปิดประตูหน้าต่างลงกลอนอย่างรีบเร่ง แล้วจึงปัดกวาดฝุ่นละอองพอใช้พักอาศัยได้ จากนั้นได้ล้วงเอาเทียนขี้ผึ้งในย่ามออกมาสองเล่มพร้อมธูปสามดอกมาบูชาพระรัตนตรัยและบอกให้พระธุดงค์ทำวัตรเย็น

 

ส่วนชายแก่ได้ยึดที่มุมหนึ่งของพระอุโบสถตั้งหน้าตั้งตาสานตอกอะไรของแกไปโดยไม่พูดจากับใคร จนเดือนโผล่พ้นยอดไม้สู่ท้องฟ้าทำให้มองเห็นจากรอยแผ่นกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถที่หลุดหาย สุนัขก็เริ่มส่งเสียงเห่าหอนรับกันเป็นระยะ ๆ เสียงโหยหวนน่าสะพรึงกลัวในบรรยากาศอันเงียบสงัดวังเวง ทันใดนั้นได้ยินเสียงหวีดหวิวคำรามของเสือร้าย สายลมโชยพัดพากลิ่นสาบใกล้เข้ามา จึงกระซิบพระธุดงค์ให้ตั้งสมาธิจิตบริกรรมพระพุทธคุณ มีอะไรผิดปกติอย่าได้สนใจเป็นอันขาด และเสียงนั้นก็ใกล้เข้ามาทุกที ๆ จนได้ยินเสียงหายใจครืดคราด และเสียงตะกุยตะกายที่ประตูพระอุโบสถ

 

ซึ่งเสียงนั้นกะประมาณอย่างน้อยมีจำนวนไม่ต่ำว่า 3-4 ตัว ถ้าพูดกันแล้วมันเป็นลีลาของเสือโคร่งชัด ๆ ทันใดนั้นท่านผู้ชราได้ผลุดลุกจากที่นั่ง ซึ่งสงบมานานได้เดินตรงไปสู่ประตูพระอุโบสถทำการสอดไม้ไผ่ที่สานออกตามรูช่องดาลอันแล้วอันเล่าไม่ทราบจำนวนเท่าใด ในบัดดลก็ได้ยินเสียงการต่อสู้ของสัตว์ใหญ่ พร้อมเสียงคำรนคำรามกึกก้องฉาด ๆ ซัดกันนัวไปหมด ปานแผ่นดินจะถล่มทลาย ประมาณชั่วหม้อข้าวเดือด ผลของเสียงการรณรงค์ต่อสู้ได้เงียบหายไป ทุกสิ่งตกอยู่ในความเงียบสงัดราตรีอันวอมแวมของแสงเทียน

 

ต่อจากนั้นก็พากันพักผ่อนโดยอาการสงบ ครั้นพอรุ่งเช้าก็ถอดกลอนผลักบานประตูพระอุโบสถเผยกว้างออก สิ่งที่ปรากฏแก่สายตาก็คือ ภาพของเสือโคร่งขนาดวัดได้จากหัวถึงหางประมาณหกศอกจำนวน 4 ตัว นอนตายอยู่ในที่ต่าง ๆ ในลักษณะลำตัวไส้ทะลักเรี่ยราด ชายแก่ในชุดขาวจึงอธิบายให้พระธุดงค์ทราบว่าพระสี่รูปที่เห็น เมื่อเย็นวานนั้นก็คือเสือสมิงร้าย 4 ตัว และให้สังเกตดูจะเห็นว่าที่คอยังมีผ้าเหลืองพันอยู่ทุกตัว และถ้ามาช่วยไม่ทันละก็อาจตกเป็นเหยื่อของเสือสมิงร้ายพวกนี้ก็ได้

 

 

วัตถุที่ใช้สร้างวัวธนู – ความธนู แต่ละชนิดออกไปดังนี้

1. วัวทอง (ไม่ใช่ทองคำ ทองผสม เช่น ทองเหลือง ทองแดง ที่ภาคอีสานนิยมเรียกว่า ทอง ส่วนทองเรียกว่า คำ) เป็นวัวธนูชั้นหนึ่ง สร้างขึ้นด้วยโลหะอาถรรพณ์ มีตะปูตรึงโลงศพ เหล็กขนัน ผีตายท้องกลม งั่ง (ตัวยาซัดทองชนิดหนึ่ง) ทองแดงเถื่อน ดีบุก ทองขวานฟ้า เงินปากผี ทองยอดนพศูนย์ นำมาหล่อหลอมเข้าด้วยกัน แล้วลงอักขระตามตำราที่ใช้บังคับ หรือหล่อเป็นโคถึกหรือกระทิงโทน

 

2.วัวขี้ผึ้ง เป็นวัวธนูชั้นสอง ท่านให้ใช้ขี้ผึ้งปิดหน้าผีตายโหง ผีตายท้องกลม ผสมด้วยผมผีตายพราย ผมผีตายลอยน้ำ ตานกกรด ตาแร้ง ตาชะมด กำลังวัวเถลิง เผาไฟให้ไหม้บดเป็นผง ผสมกับเถ้ากองฟอนเจ็ดป่าช้าแล้วนำไปคลุกกับขี้ผึ้งปั้นเป็นรูปวัวหรือความก็ได้ เสกด้วยอาการ 32 บางตำราเพิ่มคนเลี้ยงอีก 1 คน

 

3. วัวไม้ไผ่ เป็นวัวธนูชั้นสาม ใช้ชั่วคราวในเวลาฉุกเฉิน ให้ใช้ไม้ไผ่ที่ขึ้นคร่อมทาง กลั้นหายใจตัดด้วย นะโมตัสสะ กะทีเดียวให้ขาดจากกัน นำมาสานเป็นรูปหัววัว คล้ายเฉลวปักหม้อยาแผนโบราณ

 

 

กรรมวิธีการสร้าง

วัวกำหนดสร้างตามตำราที่ระบุไว้ให้เลือกเอา วันมาฆบูชาหรือวันวิสาขบูชาและวันอาสาฬหบูชาและใน แต่ละวันให้กำหนดฤกษ์แตกต่างกันออกไปดังนี้

 

วันมาฆบูชา

อันเป็นวันเพ็ญเดือนสามให้กำหนดฤกษ์ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึง เที่ยงคืนเป็นหมดฤกษ์ แต่จะต้องเลือกตัดช่วงใดช่วงหนึ่งที่ดีที่สุดอาจจะ 1 – 3 ชั่วโมง ตามแต่ความสั้น – ยาวของช่วงฤกษ์ที่อยู่ภายในระยะเวลาเที่ยงคืน

วันวิสาขบูชา

กำหนดเวลาฤกษ์ตั้งแต่พระอาทิตย์พ้นขอบฟ้าตอนเช้าจนถึงเที่ยง และต้องเลือกติดฤกษ์เหมือนวันมาฆบูชาเช่นกัน วันอาสาฬหบูชากำหนดเวลาฤกษ์ตั้งแต่บ่ายคะเนอาทิตย์อยู่เหนือยอดไม้ใกล้ลับฟ้าจนถึงอาทิตย์ลับของฟ้าวันนี้ไม่ต้องตัดฤกษ์ถือเป็นฤกษ์ดีโดยเวลากำหนดอยู่แล้ว

อนึ่ง การใช้ดอกไม้ในพิธีกำหนดตามวันคือ วันมาฆบูชา ใช้ดอกไม้ 4 สี เข้าใจว่าคงจะมีความหมายถึง“จาตุรงคสันนิบาต” อันเป็นองค์ประกอบแห่งความหมายของวันมาฆบูชาก็เป็นได้ซึ่งเป็นวันที่ครบองค์ 4 คือ มีพระสงฆ์ที่เป็นอรหันต์มาชุมนุมกัน 1,250 องค์ 1. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกษุ 2. พระสงฆ์เหล่านั้นมากันเอง โดยมิได้นัดหมาย 3. เป็นวันเพ็ญเดือนสามที่พระพุทธองค์แสดงโอวาทปาติโมกข์ และเข้าใจว่าดอกไม้ 4 สีคงมีความหมายดังกล่าวมา

 

สำหรับวันอาสาฬหบูชาท่านให้ใช้ดอกไม้ 8 สี อันนี้ก็เข้าใจว่าคงจะมีความหมายว่าในวันอาสาฬหบูชาซึ่งเป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเทศนา โปรดปัญจวัคคีย์นั้นทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา อันหมายถึงอริยมรรค 8 ประการก็น่าเป็นไปได้ ส่วนวันวิสาขบูชานั้นท่านให้ใช้ดอกไม้ 3 สีก็น่าจะหมายถึงการเกิดอัศจรรย์จากนิมิตทั้งสามมาตรงกันนั่นเอง

 

วัตถุในการใช้เป็นส่วนประกอบในการสร้างที่สำคัญ คือ ครั่งที่เกาะบนกิ่งพุทธาซึ่งชี้ไปทางทิศตะวันออกอย่างน้อยจาก 3 ต้นขึ้นไป ตามตำรับระบุไว้อย่างแน่ชัดว่าต้องเลือกเอาครั่งในกิ่งที่ชี้ไปทางทิศตะวันออกเท่านั้นและถ้าเป็นกิ่งตายพรายท่านให้ใช้เพียงกิ่งเดียวเป็นพอ จะเพิ่มอานุภาพมากขึ้น

 

คาถาที่ใช้เสกทำน้ำมนต์ในแบบนี้ท่านให้เสกด้วย

“อมอุดเทตะยัง สะนหิ อมงัวทะนูลูกแม่เฒ่ารักษาเจ้าให้ดี ผีสางสะเด็ดหนี ขวักคว้าน อมโคโนมหาโคโน อมโคโส มหาโคโส สันทะ สันทิ จันทิหิ อมมหาหิริโอตัมปะ สัมปัญโน นะภาเวนุ นุเวภานะ เวภานะนุ ภานะนุเว นะภาเวนุ สัพปุริสา โลเก เทวะทำมาติ วัดจะเร”

 

ท่านให้สวด 7 ครั้งขณะทำน้ำมนต์

การใช้วัวธนูเฝ้าบ้านตามตำรา ท่านว่าให้เอาวัวธนูนั้นเสกด้วยคาถาดังนี้ 7 ครั้ง นะภาเวนะ นะภาเวนุ เวทาสากุ กุสาทาเว ทายัสสะ ตะทะสา ทิกุกุ ทิสาสา กุตะกุ ภูตะพุ โคสวาหะ โสถิทเต โหตุเต ชัยยะมังคลานิ นุเวภานะ นุเวภานะ เวถานะนุ เวถานะนุ ภานะนุเว ภานะนุเว นะนุเวภา นะนุเวภา นะภาเวนุ นะภาเวนะ แล้วรดน้ำบนหลังวัวธนูรองเอาน้ำนั้นรดรอบ ๆ เขตบ้านที่เป็นการกำหนดเขตไว้ให้แน่ชัด

มนต์คาถาควายธนู

 

โอมปู่เจ้าสมิงพราย ปู่เจ้ากำแหงให้กูมาทำควาย เชิญพระอิศวรมาเป็นตาซ้าย เชิญพระนารายณ์มาเป็นตาขวา เชิญพระอาทิตย์มาเป็นเขา เชิญพระจันทร์มาเป็นหาง เชิญพระพุทธคีเนตร พระพุทธคีนาย มาเป็นสีข้างทั้งสอง เชิญพระจัตตุโลกบาลทั้งสี่มาเป็นขาสี่เท้า เชิญฝูงผีทั้งหลายเข้ามาเป็นไส้พุง นะมะสะตีติ