[ใหม่] นวดแก้อาการปวดเรื้อรัง ผสานวิธีบำบัดแบบ Negative-Ion Therapy
รายละเอียด
นวดแก้อาการปวดเรื้อรัง ด้วยการผสมผสานวิธีการนวดกดจุดแบบญี่ปุ่นและการนวดกล้ามเนื้อชั้นลึก (Deep Tissue & Shiatsu Therapy) เพื่อให้เข้าถึงจุดที่กล้ามเนื้อหดเกร็ง อันเป็นสาเหตุของอาการปวดเรื้อรัง อีกทั้งเรายังเสริมวิธีการบำบัดแบบ Negative-Ion Therapy เพื่อลดการปวดเกร็งในขณะนวดและปรับการไหลเวียนโลหิตให้สมดุล
ระยะเวลาในการนวด : 2-3 ชั่วโมง / ครั้ง (ขึ้นอยู่กับอาการที่มีมา)
ค่าบริการ / ครั้ง : 1,200 บาท
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสำรองเวลานวดล่วงหน้า
ติดต่อ คุณชุดามาศ : 0870074030
********************************************************
เกือบทุกคนคงต้องเคยเผชิญกับการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเช่น ปวดคอบ่าไหล่สะบักหรือหลัง แต่ถ้าอาการปวดเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีการเพิ่มความรุนแรงและความถี่ขึ้นเรื่อยๆ คุณได้มีอาการของโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือMyofascial Painแล้ว ซึ่งหากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษาให้ถูกวิธีจะทำให้มีอาการมากขึ้น จนเกิดโรคอื่นๆร่วมด้วย เช่นโรคปวดศีรษะเรื้อรัง โรคไมเกรน โรคความดันโลหิตสูง อาการนอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง โครงสร้างร่างกายผิดปกติเป็นต้น
ปัจจุบันมีประชากรกว่าร้อยละ 30 ที่มีปัญหาเรื่องโรคปวดเรื้อรังโดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงาน ที่ต้องนั่งทำงานและใช้คอมพิวเตอร์นานๆ โดยสาเหตุที่ทำให้การปวดมีอาการเรื้อรังเกิดจาก การหดเกร็งสะสมของกล้ามเนื้อจนเป็นก้อนเล็กๆขนาด 0.5-1 ซม. จำนวนมากซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อและเยื่อพังพืด ทำให้กล้ามเนื้อนั้นขาดเลือดและออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงจนทำให้เกิดการอักเสบและเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อ โดยการอักเสบจะส่งอาการปวดไปที่กล้ามเนื้อบริเวณใกล้เคียงด้วย
อาการที่แสดงออกเด่นชัดของโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังคือ
1. มีอาการปวดร้าวลึกๆของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยอาจปวดตลอดเวลาหรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน
2. ความรุนแรงของการปวดมีได้ตั้งแต่แค่เมื่อยล้าพอรำคาญจน ไปถึงปวดทรมานจนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้
3. บางกรณีมีอาการชามือและขาร่วมด้วย
4. บางรายมีอาการปวดศีรษะเรื้อรังอาการนอนไม่หลับ
5. มีอาการผิดปกติของโครงสร้างร่างกายเช่นไหล่สูงต่ำไม่เท่ากันหลังงอคอตกขาสั้นยาวไม่เท่ากัน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง
1. ท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม
2. ลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่องนานๆเช่นการใช้คอมพิวเตอร์
3. การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำๆ
4. การทำงานที่มีการใช้กล้ามเนื้อท่าเดียวกันซ้ำๆอย่างต่อเนื่อง
5. การทำงานของกล้ามเนื้อมากเกินไปขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ
6. การขาดดูแลและการบริหารกล้ามเนื้อ